หน้าเว็บ

4.การจัดเก็บ ค้นคืน ส่งผ่านและจัดดําเนินการข้อมูลสารสนเทศ

1.การจัดเก็บข้อมูลสารสนเทศ
        เมื่อทำการสืบค้นหรือค้นหาข้อมูลสารสนเทศได้แล้วถ้าต้องการที่จะจัดเก็บข้อมูลที่ค้นหาเหล่านั้นไว้ใช้งานต่างๆ ต่อไปนี้ ก็ต้องดำเนินการจัดเก็บข้อมูลสารสนเทศ ซึ่งมีวิธีจัดเก็บดังนี้
 การจัดเก็บข้อมูลสารสนเทศในรูปแบบของข้อความ จะมีไฟล์ข้อมูลที่จะต้องทำการจัดเก็บใน 3 รูปแบบ คือ
 1.1ข้อความที่ปรากฏอยู่หน้าเว็บไซต์


แล้วคลิกที่ Copy(คัดลอก)

 ทำการเปิดโปรแกรม Microsoft Word หรือโปรแกรมที่ต้องการ แล้วคลิกเมาส์ข้างขวาบริเวณตำแหน่งที่ต้องการวาง เสร็จแล้วให้คลิก Paste (วาง)

1.2ข้อความที่มีรูปแบบไฟล์ .doc
         เมื่อทำการค้นหาข้อมูลที่ต้องการ จะปรากฏชื่อรูปแบบของไฟล์ ถ้าเป็นข้อมูลที่สร้างโดยโปรแกรม Microsoft Word จะปรากฏชื่อไฟล์ DOC
 ให้คลิกที่ชื่อเรื่องที่ต้องการ

จะเริ่มดำเนินการดาวน์โหลดข้อมูล


ให้คลิกที่ชื่อไฟล์ข้อมูลที่ทำการดาวน์โหลดเสร็จแล้ว เพื่อดำเนินการเปิดข้อมูล
 ทำการจัดเก็บข้อมูลโดยคลิกที่ File (แฟ้ม) ที่เราต้องการ แล้วคลิก Save (บันทึก)
       
         1.3 ข้อความที่มีรูปแบบไฟล์ .pdf
 ไฟล์ PDF  เป็นไฟล์ที่เปิดด้วยโปรแกรม Acrobat ซึ่งจะปรากฏชื่อไฟล์ PDF


ให้ทำการคลิกชื่อไฟล์ข้อมูลที่ต้องการจัดเก็บ จะปรากฏกรอบให้ทำการดาวน์โหลด ดังนี้




ทำการจัดเก็บข้อมูลโดยคลิกที่ File (แฟ้ม) ที่เราต้องการ แล้วคลิก Save (บันทึก) 
1.4ข้อความที่มีรูปแบบไฟล์ .ppt   

ไฟล์ PPT เป็นแฟ้มข้อมูลที่จัดเก็บโดยใช้โปรม Microsoft PowerPoint ซึ่งเมื่อคลิกที่บริเวณชื่อจะปรากฏชื่เรื่องที่ต้องหารแล้ว จะปรากฏกรอบให้ดาวน์โหลดดังนี้ 

ทำการจัดเก็บข้อมูลโดยคลิกที่ File (แฟ้ม) ที่เราต้องการ แล้วคลิก Save (บันทึก)
 จะปรากฏรายละเอียดของเรื่องที่เราต้องการในรูปแบบของไฟล์ PowerPoint



2.การเตรียมการค้นคืนสารสนเทศ
การเข้าถึง(Access)
เป็นวิธีการที่ผู้ใช้สามารถค้น ค้นหา ค้นคืน และได้รับสารสนเทศ ที่เข้าถึงเป็นทรัพยากรสารสนเทศที่สถาบันบริการสารสนเทศและแหล่งต่างๆ จัดเก็บไว้บริการผู้ใช้
การค้นหา(Searching)
เป็นการป้อนคำสั่งโดยผู้ค้นเตรียมประโยคหรือคำค้นไว้ และปฏิสัมพันธ์กับระบบค้นคืนและพิจารณาผลที่ได้รับ ซึ่งเป็นขั้นตอนในกระบวนการค้นหา
การค้นคืน (Retrieval)
หมายถึง การได้รับสิ่งต้องการกลับคืนมา
การค้นคืนสารสนเทศ จึงเป็นการกระทำใดๆที่คัดเลือกสารสนเทศจากแหล่งเก็บเพื่อทำให้ได้รับสารสนเทศตามที่ต้องการซึ่งอาจเป็นข้อมูล หรือรายการเอกสาร ที่มีเนื้อหาที่ต้องการ
หลักสำคัญของการค้นคืนสารสนเทศคือ การค้นหาและนำสารสนเทศที่ตรงตามความต้องการ ส่งให้ผู้ใช้อย่างรวดเร็ว ทันกาล จึงเรียกว่า ระบบการค้นคืนสารสนเทศ  เช่น บัตรรายการ สิ่งพิมพ์ดรรชนี เป็นต้น
สรุป การจัดเก็บและค้นคืนสารสนเทศ คือ กระบวนการในการรวบรวมรายละเอียดของสารสนเทศและทรัพยากรสารสนเทศที่ต้องการกลับคืนมาได้สะดวกและรวดเร็ว ด้วยวิธีและเทคนิกอย่างเป็นขั้นตอน
การเตรียมการในการค้นคืนสารสนเทศ มีขั้นตอนในการปฏิบัติ ดังนี้
1.การเตรียมรายละเอียดข้อมูลที่ต้องการ
WHO หมายถึงเรื่องราวที่กำลังต้องการค้นหาเกี่ยวกับใคร ได้มีการปรึกษาบุคคลอื่นก่อนหรือไม่และมีการพูดคุยกับกลุ่มหรือบุคคลเป้าหมายใดบ้าง
WHAT หมายถึง ต้องการสนเมศอะไรบ้างหรือประเภทใดบ้างที่ต้องการการคาดว่าทรัพยากรสารสนเทศใดมีประโยชน์สูงสุดต่อการค้นหา มีการตรวจสอบทรัพยากรที่มีอยู่ เพื่อย่นระยะเวลาในการค้นหาและรูปแบบสารสนเทศที่ต้องการเป็นอย่างไร
WHERE หมายถึง ข้อมูลที่ต้องการค้นหาเกิดขึ้นที่ไหน สามารถค้นพบได้แหล่งใด และในอนาคตจะสามารถค้นหาสารสนเทศที่ต้องการได้จากที่ไหน
WHY หมายถึง จะต้องการสารสนเทศมากน้อยแค่ไหน จะนำทรัพยากรสารสนเทศที่รวบรวมมาได้มาสังเคราะห์อย่างไร มีงบประมาณเท่าไร เพียงพอ หรือไม่ที่จะสืบค้น  วิธีการค้นหาข้อมูลมี 2 แบบ ทั้งแบบ ออนไลน์ และแบบออฟไลน์ จะขอความช่วยเหลืออย่างไรถ้าเกิดปัญหา และการอ้างอิงทำอย่างไร
2.พิจารณาเลือกฐานข้อมูลโดยให้คำนึงถึง
-ขอบเขตเนื้อหาสาระของสารสนเทศในฐานข้อมูล
-ระยะเวลาของส่ารสนเทศที่บันทึกอยู่ในฐานข้อมูล
-ราคาค่าใช้จ่ายที่ต้องการสืบค้นฐานข้อมูล
-ภาษาของสารสนเทศ
-จำนวนสารสนเทศที่มีอยู่และการเพิ่มขึ้นของข้อมูล
-ลักษณะของสารสนเทศที่ให้เป็นสารสังเขป หรือข้อมูลเต็บรูป
-บริการอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้ เช่น การพิมพ์ผลการสืบค้น หรือการส่งข้อมูลผ่าน E-Mail

                                  3.เทคนิคการค้นคืนสารสนเทศ














4.การสืบค้นสารสนเทศจากเว็บโอแพค(OPAC)



การสืบค้นสารนิเทศด้วยระบบคอมพิวเตอร์
        คอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทในทุกวงการ และในปัจจุบันนิยมนำมาใช้ในการค้นหาความรู้ข้อมูล ข่าวสารจากแหล่งสารนิเทศที่มีอยู่อย่างมากมาย ทำให้การค้นหาเป็นไปอย่างสะดวกและรวดเร็ว
การสืบค้นสารสนเทศจากเว็บโอแพค
         ในอดีตเครื่องมือที่ช่วยค้นที่ห้องสมุดทั่วไปนิยมใช้ คือ บัตรรายการ ปัจจุบันมีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสรเทศให้บัตรรายการอยู่ในหน้าจอคอมพิวเตอร์และสามารถสืบค้นหาวัสดุในเรื่องที่ต้องการได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ทั้งยังค้นในเวลาเดียวกันได้ทีละหลายคน โปรแกรมจัดเก็บและค้นคืนจากหน้าจอคอมพิวเตอร์นี้เรียกว่า ระเบียนสาธารณะที่เข้าถึงได้ทางออนไลน์หรือเรียกสั้นๆว่า โอแพค

โอแพค (OPAC) มาจากคำเต็มว่า Online Public Access Catalog
 
         เป็นรายการทรัพยากรสารนิเทศในห้องสมุดที่บันทึกอยู่ในรูปแบบที่อ่านได้ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ (MARC : Machine Readable Catalog) หรืออาจเรียกได้ว่าเป็นบัตรรายการที่อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งสิ่งพิมพ์ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ ซีดีรอม ฯลฯ ที่มีให้บริการในห้องสมุด โดยมีระบบการจัดการฐานข้อมูล ช่วยผู้ใช้ให้สามารถค้นหาทรัพยากรได้ง่าย รวดเร็วและตรงตามความต้องการมากขึ้น ซึ่งจะมีรายละเอียดการค้นเช่นเดียวกับการค้นจากบัตรรายการ การค้นเมนูชื่อผู้แต่ง ชื่อเรื่อง หัวเรื่อง ค้นด้วยคำสำคัญเดียวกันอาจได้สารนิเทศเกือบทุกประเภทที่เกี่ยวข้องกับคำสำคัญนั้น ๆ OPAC เป็นระบบค้นหารายการหนังสือในห้องสมุดโดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์ เริ่มมีใช้ในช่วงกลางคริสต์ทศวรรษที่ 1990แทนที่ระบบแบบเก่าที่เป็นบัตรกระดาษทำให้ไม่ต้องใช้บัตรรายการค้นหาทรัพยากรสารนิเทศทีละประเภทเหมือนแต่ก่อนในปัจจุบันผู้ใช้บริการห้องสมุดหรือบรรณารักษ์ สามารถสืบค้นผ่านคอมพิวเตอร์ในห้องสมุด หรือว่าใช้คอมพิวเตอร์ผ่านทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์ต่างๆ เช่น สามารถค้นจากที่บ้าน ที่ทำงาน หรือที่ใด ๆ ในโลกที่เชื่อมต่อกับระบบ Internet ได้ ก็สามารถเข้าถึงบริการดังกล่าวไป ผู้ค้นไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปตรวจสอบถึงห้องสมุด และยังสามารถเข้าใช้บริการ OPAC ของห้องสมุดอื่นๆได้ ไม่จำกัดเวลาและสถานที่ โดยไม่ต้องเป็นสมาชิกระบบโอแพค (OPAC)ใช้ประโยชน์ในการค้นคืนสารสนเทศในห้องสมุดได้อย่างไร
1.ใช้สำหรับค้นหาข้อมูลทางบรรณานุกรมของทรัพยากรสารสนเทศที่ห้องสมุดได้อย่างสะดวก และรวดเร็ว โดยสืบค้นจากคอมพิวเตอร์แทนบัตรรายการ
2. นอกจากใช้สำหรับค้นหาข้อมูลทางบรรณานุกรมของทรัพยากรสารสนเทศแล้วยังสามารถใช้ในการตรวจสอบข้อมูลการยืมของตนเองได้อีกด้วย
3. ค้นหาบทความจากวารสารที่มีให้บริการในห้องสมุด
ทำไมต้องสืบค้น OPAC
เพื่อทราบว่าห้องสมุดมีทรัพยากรสารสนเทศที่ต้องการหรือไม่
เพื่อทราบรายละเอียดต่างๆ เกี่ยวกับข้อมูลทางบรรณานุกรมของทรัพยากรสารสนเทศก่อนตัดสินใจคัดเลือกทรัพยากรสารสนเทศที่ต้องการ
เพื่อทราบเลขเรียกหนังสือ สถานที่จัดเก็บ และสถานภาพของทรัพยากรสารสนเทศก่อนที่จะไปหาตัวเล่มบนชั้น
เพื่อใช้บริการอัตโนมัติต่างๆ ที่เกี่ยวกับการใช้ทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุดได้แก่ การจอง การยืมต่ออัตโนมัติ การตรวจสอบข้อมูลการยืม และการรวบรวมรายการบรรณานุกรม
จะใช้ OPAC ได้ที่ใด
สืบค้นผ่านคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการภายในห้องสมุด หรือสืบค้นผ่านคอมพิวเตอร์จากที่ใดก็ได้ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต โดยเข้าใช้จากเว็บไซต์ของสำนักหอสมุดกลาง
http://lib.swu.ac.th หรือเข้าถึงหน้า OPAC โดยตรงได้ที่ http://library.swu.ac.th

5.การดำเนินการเกี่ยวกับข้อมูลสารสนเทศ
การเก็บรวบรวมข้อมูล
             การเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นขั้นตอนหนึ่งของกระบวนการทางสถิติที่มีความสำคัญ เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่ตอบสนองวัตถุประสงค์ และสอดคล้องกับกรอบแนวความคิด สมมุติฐาน เทคนิคการวัด และการวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งหมายรวมทั้ง การเก็บข้อมูล (Data Collection) คือ การเก็บข้อมูลขึ้นมาใหม่ และการรวบรวมข้อมูล (Data Compilation) ซึ่งหมายถึง การนำเอาข้อมูลต่างๆที่ผู้อื่นได้เก็บไว้แล้ว หรือรายงานไว้ในเอกสารต่างๆ มาทำการศึกษาวิเคราะห์ต่อ
การตรวจสอบข้อมูล

       เมื่อเก็บรวบรวมข้อมูลได้แล้ว จำเป็นต้องตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล และมีการตรวจทานหรือแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้อง ข้อมูลที่จัดเก็บต้องถูกต้องและเชื่อถือได้เพราะหากข้อมูลไม่น่าเชื่อถือแล้ว สารสนเทศที่ได้จากข้อมูลนั้นก็ไม่น่าเชื่อถือด้วย
การรวบรวมเป็นแฟ้มข้อมูล

      การเก็บรวบรวมข้อมูลไว้เป็นแฟ้มข้อมูลนั้น เป็นขั้นตอนที่สำคัญขั้นตอนหนึ่ง การไปสำรวจข้อมูลไม่ว่าในเรื่องอะไรส่วนใหญ่จะรวบรวมข้อมูลมาหลายเรื่อง จำเป็นต้องแบ่งแยกข้อมูลออกเป็นกลุ่มเป็นเรื่องไว้เป็นแฟ้มข้อมูล เพื่อให้การดำเนินการในขั้นตอนต่อไปจะได้สะดวกและรวดเร็วขึ้น
การจัดเรียงข้อมูล

      ข้อมูลที่เก็บไว้เป็นแฟ้มควรมีการจัดเรียงลำดับข้อมูล เพื่อสะดวกต่อการค้นหาหรืออ้างอิงในภายหลัง การจัดเรียงข้อมูลเป็นวิธีการประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศวิธีหนึ่ง
การคำนวณ

          ข้อมูลที่จัดเก็บมีทั้งข้อมูลที่เป็นตัวอักษร ข้อความ และตัวเลข ดังนั้นอาจมีความจำเป็นในการคำนวณจำนวนที่ได้มาจากข้อมูล เช่น หาค่าเฉลี่ย หาผลรวม
การทำรายงาน

      การสรุปทำรายงานให้ตรงกับความต้องการของการใช้งาน จะทำให้การใช้สารสนเทศมีประสิทธิภาพและรวดเร็วขึ้น เพราะการทำรายงานเป็นวิธีการที่จะจัดรูปแบบข้อมูลให้เป็นสารสนเทศตามความต้องการ
การจัดเก็บ

         ข้อมูลที่มีการสำรวจหรือรวบรวมมา และมีการประมวลผลให้เป็นสารสนเทศ จำเป็นต้องดำเนินการจัดเก็บเอาไว้เพื่อใช้ในภายหลัง การจัดเก็บสมัยใหม่มักเปลี่ยนข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่สามารถจัดเก็บในสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น แผ่นบันทึกหรือซีดีรอม
การทำสำเนา

          หากต้องการใช้ข้อมูลก็สามารถคัดลอกหรือทำสำเนาขึ้นใหม่ได้ การคัดลอกข้อมูลด้วยระบบทางคอมพิวเตอร์ทำได้ง่ายและรวดเร็ว
การแจกจ่ายและการสื่อสารข้อมูล

          เมื่อต้องการแจกจ่ายข้อมูลให้ผู้อื่นใช้ สามารถกระทำการแจกจ่ายได้โดยง่าย เทคโนโลยีสื่อสารสมัยใหม่ทำให้จัดส่งข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งอินเทอร์เน็ตเป็นสื่อที่ช่วยให้การเผยแพร่ทำได้กว้างขวางมากขึ้น


6.ประเภทของไฟล์ข้อมูล
การดำเนินการข้อมูลสารสนเทศ ในส่วนของการค้นหา ค้นคืน ส่งผ่านหรือจัดเก็บจะมีรูปแบบของไฟล์ข้อมูลหลายประเภทด้วยกัน ส่วนใหญ่จะมีอยู่ ประเภท คือ
1. ไฟล์ PDF
2.  ไฟล์ DOCX
3.  ไฟล์ PPTX
             เอกสาร PDF (Portable Document Format) เป็นเอกสาร e-Book (Electronics Book) รูปแบบหนึ่ง ที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในปัจจุบัน โดยเฉพาะการนำเสนอผ่าน WWW โดยเป็นรูปแบบของเอกสารที่พัฒนาโดยhttp://www.adobe.com/products/acrobat/main.html เนื่องจากเอกสารลักษณะนี้ มีรูปแบบ และการจัดหน้ากระดาษ เหมือนเอกสารต้นฉบับทุกประการ มีขนาดไฟล์ไม่โตมากนัก ทำงานข้ามระบบ (Cross Platform) ได้ ทำให้เอกสารนี้เป็นอิสระจากซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ และระบบปฏิบัติการ (OS) กล่าวคือ เอกสาร PDFสร้างได้ทั้งจากเครื่องคอมพิวเตอร์ระบบ Macintosh และ PC และสามารถเรียกดูร่วมกันได้นั่นเอง
Portable Document Format (PDF) คือไฟล์ประเภทหนึ่งในถูกสร้างมาจากโปรแกรม Adobe Acrobatหรือโปรแกรมประเภท PDF Creater ตัวอื่นๆ เหมาะสำหรับการทำเอกสารตัวอย่างใบเสนอราคา, Manual, Sample Picture หรือเอกสารอื่นๆ ปัจจุบันเป็นที่นิยมมากในการทำ e-Document หรือ e-Paper ต่างๆ เนื่องจากไฟล์ที่ได้มีคุณภาพสูง ไม่ผิดเพี้ยนจากต้นฉบับ และผู้ที่นำไฟล์ PDF ไปใช้งาน ก็ไม่สามารถแก้ไขต้นฉบับของเราได้ด้วย ถึงแม้ว่าในปัจจุบันจะมีโปรแกรมออกมาใหม่ เพื่อที่จะแปลงไฟล์ PDF กลับไปเป็นไฟล์ในรูปแบบเดิมก็ตาม แต่จากการทดลองใช้งานแล้วพบว่า ใช้ได้กับเอกสารภาษาอังกฤษเท่านั้น สำหรับภาษาไทยยังไม่สามารถใช้งานได้ครับ นอกจากนี้ ยังรองรับการอ่านข้อมูลผ่านทาง web page ได้ด้วย
.docx คือ นามสกุลไฟล์เอกสาร ของโปรแกรม Microsoft Word  ซึ่งเวอร์ชั่นที่สามารถเปิดอ่านไฟล์นามสกุลนี้ได้ ต้องเป็น  Microsoft Word เวอร์ชั่น 2007 ขึ้นไป ส่วนเวอร์ชั่นที่ต่ำกว่าอย่าง เวอร์ชั่น 2003 นั้นไม่สามารถเปิดอ่านได้ แต่หากต้องการให้ Microsoft Word เวอร์ชั่น 2003 นั้นเปิดไฟล์ .docx ได้ ก็ต้องลงโปรแกรมเสริม ชื่อโปรแกรม Microsoft Office Compatibility Pack for Word, Excel, and PowerPoint 2007 File Formatsซึ่งโปรแกรมนี้จะช่วยให้ Microsoft Word เวอร์ชั่น 2003 ทำงานได้เสมือนเป็น เวอร์ชั่น 2007 และทำให้Microsoft office 2003 สามารถเปิดไฟล์ .pptx และ .xlsx ได้อีกด้วย นอกจากนี้ยังมีโปรแกรมอื่นๆ ที่สามารถใช้เปิด ไฟล์ .docx ได้ เช่น Openoffice, Word Reader เป็นต้น

ไฟล์ที่อยู่ภายใต้การขยาย PPTX ถูกนำมาใช้เพื่อระบุไฟล์นำเสนอที่สร้างขึ้นโดยไมโครซอฟท์PowerPoint, ซอฟแวร์ที่รู้จักกันดีมาใช้ในการสร้างงานนำเสนอที่มีการใช้การแสดงภาพนิ่ง PowerPoint Microsoftยังสนับสนุนการใช้วัตถุสื่อที่แตกต่างกันเช่นภาพเสียงและไฟล์วิดีโอเชื่อมโยงหลายมิติและวัตถุมัลติมีเดียอื่น ๆ ที่สามารถจัดได้อย่างอิสระ นอกจากนี้ยังอาจจะนำเสนออยู่บนคอมพิวเตอร์และสำรวจผ่านคำสั่งของพรีเซนเตอร์ ไฟล์ PPTX ทำให้การใช้งานของ Open XML รูปแบบซึ่งเอกสารข้อมูลเป็นคอลเลกชันของแต่ละไฟล์ในไฟล์บีบอัดซึ่งแตกต่างจากไฟล์ PPT ซึ่งมีข้อมูลทั้งหมดในแฟ้มไบนารีเดียว ไฟล์ที่มีรูปแบบ PPTX จะถูกบันทึกเป็นการนำเสนอผลงานและไม่ได้เป็นการแสดงภาพนิ่งคนเดียวดังนั้นมันอาจจะดูและแก้ไขผ่านการเขียนซอฟต์แวร์ของตนซึ่งเป็น PowerPoint ซอฟแวร์นำเสนออื่น ๆ นอกจากนี้ยังอาจใช้ในการดูและจัดการไฟล์ PPT เช่น Kingsoftการนำเสนอและเปิดสำนักงาน ในการดูผ่านโปรแกรมอื่น ๆ ก็อาจจำเป็นต้องใช้ในการแปลงไฟล์ PPTX รูปแบบอื่น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น