หน้าเว็บ

1.คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์โทรคมนาคม

คอมพิวเตอร์
ความหมายของคอมพิวเตอร์
                คอมพิวเตอร์ (Computer) ตามความหมายของพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.. 2525 ให้ความหมายของคอมพิวเตอร์ไว้ว่า "เครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติ ทำหน้าที่เหมือนสมองกล ใช้สำหรับแก้ปัญหาต่างๆ ที่ง่ายและซับซ้อนโดยวิธีทางคณิตศาสตร์"
                คอมพิวเตอร์ หรือในภาษาไทยว่า คณิตกรณ์ เป็นเครื่องจักรแบบ สั่งการได้ที่ออกแบบมาเพื่อดำเนินการกับลำดับตัวดำเนินการทางตรรกศาสตร์หรือ คณิตศาสตร์ โดยอนุกรมนี้อาจเปลี่ยนแปลงได้เมื่อพร้อม ส่งผลให้คอมพิวเตอร์สามารถแก้ปัญหาได้มากมาย คอมพิวเตอร์ถูกประดิษฐ์ออกมาให้ประกอบไปด้วยความจำรูปแบบต่างๆ เพื่อเก็บข้อมูล อย่างน้อยหนึ่งส่วนที่มีหน้าที่ดำเนินการคำนวณเกี่ยวกับตัวดำเนินการทาง ตรรกศาสตร์ และตัวดำเนินการทางคณิตศาสตร์ และส่วนควบคุมที่ใช้เปลี่ยนแปลงลำดับของตัวดำเนินการโดยยึดสารสนเทศที่ถูกเก็บไว้เป็นหลัก อุปกรณ์เหล่านี้จะยอมให้นำเข้าข้อมูลจากแหล่งภายนอก และส่งผลจากการคำนวณตัวดำเนินการออกไป 

ประเภทของคอมพิวเตอร์
                คอมพิวเตอร์มีอยู่หลายประเภทด้วยกัน มีการแบ่งประเภทตามขนาดออกเป็น 6ประเภทคือ
         ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ (Super Computer)
                เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่สุดและมีขีดความสามารถสูงที่สุด ภายในประกอบไปด้วยหน่วยประมวลผลกลาง หรือ CPU (Central Process Unit) นับพันตัวที่สามารถคำนวณด้วยความเร็วหลายล้านคำสั่งต่อวินาที จัดเป็นคอมพิวเตอร์ที่มีราคาแพงที่สุด และเร็วที่สุดตามความหมายของซุปเปอร์คอมพิวเตอร์




รูปแสดงเครื่องซุปเปอร์คอมพิวเตอร์

                ประเภทของงาน เหมาะกับงานที่มีการประมวลผลข้อมูลปริมาณมาก เช่น การวิเคราะห์ข้อมูลวิจัยทางวิทยาศาสตร์ การค้นคว้าด้านอากาศยานและอาวุธยุทโธปกรณ์ การสำรวจสำมะโนประชากร งานพยากรณ์อากาศ การออกแบบอากาศยาน การสร้างแบบจำลองระดับโมเลกุลการวิจัยนิวเคลียร์ และการทำลายรหัสลับ

·       เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (Mainframe Computer)
                เครื่องเมนเฟรมเป็นเครื่องที่ได้รับความนิยมใช้ในองค์กรขนาดใหญ่ทั่วๆไปจัดเป็นเครื่องที่มีประสิทธิภาพรองลงมาจากซูเปอร์คอมพิวเตอร์ เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีสมรรถนะสูงมาก แต่ยังต่ำกว่าซูเปอร์คอมพิวเตอร์ คือปกติสามารถทำงานได้รวดเร็ว หลายสิบล้านคำสั่งต่อวินาที สำหรับสเหตุที่ได้ชื่อว่า เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ ก็เพราะครั้งแรกที่สร้างคอมพิวเตอร์ลักษณะนี้ได้สร้างไว้บนฐานรองรับ ที่เรียกว่า คัสซี่ (Chassis)โดยมีชื่อเรียกฐานรองรับนี้ว่า เมนเฟรม




















































รูปแสดงเครื่องเฟรมคอมพิวเตอร์
              เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ ความเหมาะกับการใช้งาน ทั้งในด้านวิศวกรรม วิทยาศาสตร์ และธุรกิจ โดยเฉพาะงานที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลจำนวนมากๆ เช่น งานธนาคาร ซึ่งต้องตรวจสอบบัญชีลูกค้าหลายคน งานของสำนักงานทะเบียนราษฎร์ ที่เก็บรายชื่อประชาชนประมาณ 60 ล้านคน พร้อมรายละเอียดต่างๆ งานจัดการบันทึกการส่งเงิน ของผู้ประกับตนหลายล้านคน ของสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน คอมพิวเตอร์เมนเฟรม ที่มีชื่อเสียงมาก คือ เครื่องของบริษัท IBM
                ในปัจจุบัน ความนิยมใช้เครื่องเมนเฟรม ในหน่วยงานต่างๆ ได้ลดน้อยลงมาก เพราะราคาเครื่องค่อนข้างแพง การใช้งานค่อนข้างยาก และมีผู้รู้ด้านนี้ค่อนข้างน้อย สถานศึกษาที่มีเครื่องระดับนี้ไว้ใช้สอน ก็มีเพียงไม่กี่แห่ง เหตุผลสำคัญอีกประการหนึ่งคือ คอมพิวเตอร์ขนาดเล็กกว่า ได้รับการพัฒนาให้มีสมรรถนะมากขึ้น จนสามารถทำงานได้เท่ากับเครื่องเมนเฟรม แต่ราคาถูกกว่าอย่างไรก็ตามเครื่องเมนเฟรม ยังคงมีความจำเป็น ในงานที่ต้องใช้ข้อมูลมากๆ พร้อมๆ กันอยู่ต่อไปอีก ทั้งนี้เพราะ เครื่องเมนเฟรมสามารถพ่วงต่อ และควบคุมอุปกรณ์รอบข้าง (Peripheral) เช่น เครื่องพิมพ์ เครื่องขับเทปแม่เหล็ก เครื่องขับจานแม่เหล็ก ฯลฯ ได้เป็นจำนวนมากในเวลาเดียวกัน 

·       มินิคอมพิวเตอร์ (Minicomputer)
                เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีสมรรถนะน้อยกว่าเครื่องเมนเฟรม คือทำงานได้ช้ากว่า และควบคุมอุปกรณ์รอบข้างได้น้อยกว่า จุดเด่นสำคัญของเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ ก็คือ ราคาย่อมเยากว่าเมนเฟรม การใช้งานก็ไม่ต้องใช้บุคลากรมากนัก นอกจากนั้น ยังมีผู้ที่รู้วิธีใช้มากกว่าด้วย เพราะเครื่องประเภทนี้ มีใช้ตาม โรงแรม โรงพยาบาล รวมทั้งในสถานศึกษาดับอุดมศึกษาหลายแห่ง




 

รูปแสดงเครื่องมินิคอมพิวเตอร์
                มินิคอมพิวเตอร์ เหมาะกับงานหลายประเภท คือใช้ได้ทั้งในงานวิศวกรรม วิทยาศาสตรอุตสาหกรรม มีใช้ตามหน่วยงานราชการระดับกรมเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ ที่ได้รับความนิยมใช้กันมี บริษัท Digital Equipment Corporation หรือ DEC เครื่องUnisys ของบริษัท Unisys เครื่อง NEC ของบริษัท NEC เครื่อง Nixdorf ของบริษัทSiemens-Nixdorf
·       เวิร์กสเตชั่น (Workstation)
                เวิร์กสเตชั่นถูกออก แบบมาให้เป็นคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะที่มีความสามารถในการคำนวนด้านวิศวกรรม สถาปัตยกรรม หรืองานอื่นๆที่เน้นการแสดงผลด้านกราฟฟิกต่าง ๆ เช่นการนำมาช่วยออกแบบภาพกราฟฟิกในโรงงานอุตสาหกรรมเพื่อออกแบบชิ้นส่วนใหม่ ๆ เป็นต้นซึ่งจากการที่ต้องทำงานกราฟฟิกที่มีความละเอียดสูงทำให้เวิร์คสเตชั่นใช้หน่วยประมวลผลที่มีประสิทธิภาพมากรวมทั้งมีหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง จำนวนมากด้วย มีผู้ใช้บางกลุ่มเรียกเครื่องระดับเวิร์คสเตชั่นนี้ว่าซูเปอร์ไมโคร (super micro) เพราะออกแบบมาให้ใช้งานแบบตั้งโต๊ะแต่ชิปที่ใช้ทำงานนั้นแตกต่างกันมาก เนื่องจาก เวิร์คสเตชั่นส่วนมากใช้ชิปประเภท RISC (reduce instruction set computer) ซึ่งเป็นชิปที่ลดจำนวนคำสั่งที่สามารถใช้สั่งงานให้เหลือเฉพาะที่จำเป็นเพื่อให้สามารถทำงานได้ด้วยความเร็วสูง 

·       ไมโครคอมพิวเตอร์ (Microcomputer)
                เป็นนคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก และใช้ทำงานคนเดียว นิยมเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer) เป็นคอมพิวเตอร์ใช้งานที่พบได้อย่างแพร่หลาย จัดว่าเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ทั้งระบบใช้งานครั้งละเครื่อง หรือใช้งานในลักษณะเครือข่าย แบ่งได้หลายลักษณะตามขนาด เช่นเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลแบบตั้งโต๊ะ (Personal Computer) หรือแบบพกพา (Portable Computer) ลักษณะของไมโครคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งได้ เป็นรูปแบบย่อยดังนี้


รูปแสดง Desktop Models รวมถึง Tower Models
                นอกจากนี้ ยังมีคอมพิวเตอร์แบบผู้ใช้คนเดียวที่ได้รับการออกแบบให้สามารถพกพาติดตัวได้สะดวก เช่นคอมพิวเตอร์โน้ตบุค (Notebook computer)คอมพิวเตอร์ปาล์มทอป (Palmtop computer) และ PDA (Personal Digital Assistant) ซึ่งคอมพิวเตอร์เหล่านี้ จัดได้ว่าเป็นเครืองไมโครคอมพิวเตอร์ชนิดหนึ่งขนากเล็กน้ำหนักเบา และมีรูปลักษณ์ที่เหมาะกับการพกพา
               คอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ก หรือ แล็ปท็อป เป็นพีซีแบบเคลื่อนที่ได้ มีน้าหนักเบา มีหน้าจอบาง หรือมักจะเรียกว่าคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊กเพราะมีขนาดเล็กสามารถทำงานด้วยแบตเตอรี่ สามารถนำไปใช้งานได้ทุกที่ โดยจะมีส่วนหน้าจอรวมกับส่วนแป้นพิมพ์ สามารถกพับได้ และน้ำหนักเบา

รูปแสดง Notebook computer 6

คอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊กแบ่งออกได้เป็น 2 รูปแบบ คือ
                (1)   อัลตร้าบุ๊ก (Ultra book) เป็นโน๊ตบุ๊กที่เน้นความบางและน้ำหนักเบา มีจอภาพ ขนาดใหญ่ตั้งแต่ 13-17 นิ้ว สำหรับความบางของตัวเครื่องจะบางน้อยกว่า 21 มม.มีแบตเตอรี่ที่ใช้งานได้ยาวนาน
                (2)   โน๊ตบุ๊ก (Net Book) มีหน้าจอขนาดเล็กกว่าคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ก คือมีขนาด ประมาณ 8.9-11.6 นิ้ว มีความหนาประมาณ 1 นิ้ว เหมาะสมกับการใช้งานอินเทอร์เน็ตมากกว่าใช้งานทั่วไป และไม่มีซีดีรอม
                3)   แท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ (Tablet Computer) เรียกสั้นๆว่า แท็บเล็ตพีซี เป็น คอมพิวเตอร์ที่รวมการทำงานทุกอย่างไว้ในจอสัมผัสโดยใช้ปากกาสไดลัส ปากกาดิจิตอล หรือปลายนิ้วเป็นอุปกรณ์อินพุตพื้นฐาน แทนการใช้คีย์บอร์ดและเมาส์ แต่จะมีอยู่หรือไม่มีก็ได้ มีอุปกรณ์ไร้สายสำหรับการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตและระบบเครือข่ายภายใน
                แท็บเล็ต เป็นเทคโนโลยีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่คุณสามารถพกติดตัวได้โดยวัตถุประสงค์ของเครื่องคอมพิวเตอร์ชนิดนี้ใช้เพื่อทดแทนสมุดหรือกระดาษ




รูปแสดงเครื่องแท็ปเล็ต
                แท็บเล็ต ในความหมายแท้จริงแล้วก็คือแผ่นจารึกที่เอาไว้บันทึกข้อความต่างๆ โดยการเขียน (อาจจะเป็นกระดาษดินขี้ผื้งไม้หินชนวนและ มีการใช้กันมานานแล้วในอดีต แต่ในปัจจุบัน มีการพัฒนาคอมพิวเตอร์ที่ใช้แนวคิดนี้ขึ้นมาแทนที่ซึ่งมีหลาย บริษัทได้ให้คานิยามที่แตกต่างกันไป หลักๆแล้ว มี 2 ความหมายด้วยกันคือ "แท็บเล็ต พีซี- Tablet PC (Tablet Personal Computer)" และ "แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ - Tablet Computer" หรือเรียกสั้นๆว่า "แท็บเล็ต - Tablet" ใน ปัจจุบัน แท็บเล็ต ถูกพัฒนาให้มีความสามารถใกล้เคียงเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค มีขนาดเล็กสามารถถือด้วยมือเดียว และน้าหนักเบาโดยมี 3 รูปแบบคือ
                (1)   Convertible Tablet มีโครงสร้างเดียวกับคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ก แต่ตัวจอภาพสามารถ หมุนแล้วพับซ้อนบนคีย์บอร์ดหรือสามารถแยกส่วนได้



                (2)  State Tablet จะเป็นแท็บเล็ตที่มีเพียงหน้าจอคล้ายกับกระดานชนวน จะมีคีย์บอร์ดใน ตัวแต่บางยี่ห้อสามารถใช้ปากกาเป็นอุปกรณ์อินพุตแทนคีย์บอร์ด


รูปแสดงตัวอย่าง State Tablet
                (3)  อุปกรณ์พกพา (Personal Digital Assistant :PDA) เป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์พกพา ขนาดเล็กสามารถเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ด้วยระบบไร้สายสามารถในการเพิ่มเติมแอพพลิเคชั่นเพื่อให้ใช้งานด้านอื่น ๆ ได้ เป็นอุปกรณ์เคลื่อนที่สำหรับผู้คนยุคใหม่และได้รับความนิยมมากขึ้น มีขนาดเล็กกกว่าคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ก ปัจจุบันเลิกใช้งาน และมีการพัฒนาเป็นเครื่องโทรศัพท์มือถือที่มีจอกว้างขึ้น สามารถใส่ซิมเพื่อโทรศัพท์ได้ และใช้เป็นแท็บเล็ต เรียกว่า แฟบเล็ต


รูปแสดงตัวอย่าง Personal Digital Assistant :PDA

                แฟบเล็ต (อังกฤษ: Phablet ,/ˈfæblɪt/) เป็นสิ่งที่เรียกอุปกรณ์ที่อยู่ระหว่าง "มือถือ" (Phone) กับ "แท็บเล็ต" (Tablet)[1] ซึ่งจะเป็นสมาร์ทโฟน ที่มีขนาดหน้าจอระหว่าง5.1–7 นิ้ว (130–180 มม.) โดยแฟบเล็ตถูกสร้างออกมาเพื่อให้สามารถมีฟังก์ชันสำหรับทางานระหว่างสมาร์ทโฟนกับแท็บเล็ต โดยแฟบเล็ต จะมีขนาดใหญ่กว่าสมาร์ทโฟนทั่วไป แต่จะเล็กกว่าแท็บเล็ตที่มีขนาดหน้าจอใหญ่กว่า ทำให้มีความสะดวกสบายในการพกพามากกว่าแท็บเล็ต แฟบเล็ตนั้นจะเหมาะสมกับการเข้าอินเทอร์เน็ต และการใช้สื่อมัลติมีเดียต่างๆ ซึ่งมีความเหมาะสมมากกว่าสมาร์ทโฟนปกติ แฟบเล็ตนั้นเริ่มมีมากขึ้นในยุคปัจจุบัน ยกตัวอย่างเช่น ในชุดของ กาแลคซี โน้ต โดย ซัมซุง ซึ่งซอฟต์แวร์ออกแบบมาสำหรับการใช้ปากกาสไตลัส ในการเขียนหรือวาด
                แฟบเล็ตที่ได้รับความนิยมมากที่สุดตั้งแต่การเปิดตัวคือ กาแลคซีโน้ต โดยในเดือนมกราคม พ.. 2556 ไอเอชเอส ได้รายงานว่า แฟบเล็ตรุ่นนี้ถูกขายไปแล้ว 25.6 ล้านเครื่องในปี พ.. 2555 และคาดว่าจะเติบโตเป็น 60.4 ล้านเครื่องในปี พ.. 2556 และ 146ล้านเครื่อง ในปี พ.. 2559


รูปแสดงตัวอย่างแฟบเล็ต
                แฟบเล็ตนั้นในช่วงแรกถูกออกแบบมาเพื่อตลาดเอเชียที่ผู้บริโภคไม่ต้องการสมาร์ทโฟนที่มีขนาดเล็กเกินไปและแท็บเล็ตที่มีขนาดใหญ่เกินไป เหมือนกับผู้บริโภคในทวีปอเมริกาเหนืออย่างไรก็ตาม แฟบเล็ตก็ได้ประสบความสำเร็จในทวีปอเมริกาเหนือด้วย ซึ่งระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ ตั้งแต่รุ่น 4.0 เป็นต้นมา มีคุณลักษณะเหมาะกับอุปกรณ์ที่มีขนาดหน้าจอใหญ่ เช่นเดียวกับหน้าจอขนาดเล็ก ส่วนผู้ใช้ที่มีอายุมาก ก็ต้องการอุปกรณ์ที่มีขนาดจอใหญ่ๆเช่นกัน เนื่องจากปัญหาด้านสายตา ขณะที่ผู้ผลิตในปัจจุบันก็ผลิตแฟบเล็ตที่มีขนาดหน้าจอ 5.1 ถึง 7 นิ้วมากขึ้น ส่วนทางด้านแอ็ปเปิล (ในยุคของ สตีฟ จ็อบส์ปฏิเสธที่จะผลิตอุปกรณ์ที่มีหน้าจอใหญ่กว่า ไอโฟน ที่มีขนาดหน้าจอ3.5 นิ้ว (89 มม.) และเล็กกว่า ไอแพด ที่มีขนาดหน้าจอ 9.7 นิ้ว (250 มม.) ในปี พ.. 2555  


·       ไมโครคอนโทลเลอร์ (Microcontrollers)
                ไมโครคอนโทรลเลอร์ (อังกฤษ: microcontroller มักย่อว่า μC, uC หรือ MCU)คือ อุปกรณ์ควบคุมขนาดเล็ก ซึ่งบรรจุความสามารถที่คล้ายคลึงกับระบบคอมพิวเตอร์ ในไมโครคอนโทรลเลอร์ได้รวมเอาซีพียูหน่วยความจำ และพอร์ต ซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักสำคัญของระบบคอมพิวเตอร์เข้าไว้ด้วยกัน โดยทำการบรรจุเข้าไว้ในตัวถังเดียวกัน
                ไมโครคอนโทรลเลอร์ เป็นคอมพิวเตอร์แบบฝังตัว(Embedded Computers)ออกแบบมาเป็นพิเศษ มีขนาดเล็ก ป้อนโปรแกรมเพื่อให้ทำงานด้านใดด้านหนึ่งโดยเฉพาะสามารถสังเกตได้จากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วไปในปัจจุบัน มักมีเป็นส่วนประกอบแทบทั้งสิ้น เช่น สมาร์ททีวี เครื่องไมโครเวฟ เครื่องซักผ้า และตู้เย็น เป็นต้น

รูปแสดงตัวอย่างสมาร์ททีวี

ความหมายของโทรคมนาคม
อุปกรณ์โทรคมนาคม
โทรคมนาคม (Telecommunications) เป็นการส่งสารสนเทศในรูปแบบของตัวอักษร ภาพและเสียงโดยใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหรือการติดต่อสารจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งไปยังอกที่หนึ่งโดยใช้พลังงานไฟฟ้าให้ไหลไปตามสายเคเบิลทองแดง เคเบิลเส้นใยแสง หรือโดยอาศัยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในการส่งสัญญาณไปในบรรยากาศ เช่นการส่งวิทยุ โทรทัศน์ การส่งคลื่นไมโครเวฟ และการส่งสัญญาณผ่านดาวเทียม โดยจุดที่ส่งข่าวสารกับจุดรับจะอยู่ห่างไกลกัน และข่าวสารที่ส่งจะเฉพาะเจาะจงผู้รับคนใดคนหนึ่งหรือส่งให้ผู้รับทั่วไปก็ได้
          โทรคมนาคมเป็นการใช้สื่ออุปกรณ์รับไฟฟ้าต่าง ๆ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ โทรศัพท์ โทรสาร และโทรพิมพ์ เพื่อการสื่อสารในระยะไกล โดยอุปกรณ์เหล่านี้จะแปลงข้อมูลรูปแบบต่าง ๆ เช่น เสียงและภาพไปเป็นสัญญาณไฟฟ้า สัญญาณเหล่านี้จะถูกส่งไปโดยสื่อ เช่น สายโทรศัพท์ หรือคลื่นวิทยุเมื่อสัญญาณไปถึงจุดปลายทาง อุปกรณ์ด้านผู้รับจะรับและแปลงกลับสัญญาณไฟฟ้าเหลานี้ให้เป็นข้อมูลที่สามารถเข้าใจได้ เช่นเป็นเสียงทางโทรศัพท์ หรือภาพบนจอโทรทัศน์ หรือข้อความและภาพบนจอคอมพิวเตอร์ โทรคมนาคมจะช่วยให้บุคคลสามารถติดต่อสารกันได้ไม่ว่าจะอยู่ที่ใด ๆ ในโลกในรูปแบบของข่าวสาร ความรู้ และความบันเทิง


ประเภทของข้อมูล
ข้อมูลในการสื่อสารโทรคมนาคมสามารถแยกได้เป็น 4 ประเภท คือ
1. 
ประเภทเสียง เช่น เสียงพูด เสียงดนตรี
2. 
ประเภทตัวอักษร เช่นอักษร ตัวเลข สัญลักษณ์
3. 
ประเภทภาพ ทั้งภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว
4. 
ประเภทรวม เป็นการสื่อสารทั้งตัวอักขระ ภาพและเสียง
องค์ประกอบของการสื่อสารในระบบโทรคมนาคม
องค์ประกอบของการสื่อสารในระบบโทรคมนาคม แบ่งได้ ส่วน ซึ่งทำหน้าที่ดังนี้
1. 
สื่อ หรือ พาหะ เพื่อนำข่าวสารนั้นไปถึงกันโดยใช้เคลื่อนวิทยุที่มีความถี่สูงเป็น คลื่นพาห์ ช่วยนำสัญญาณทาง ไฟฟ้าที่ส่งมานั้นแพร่กระจายไปในบรรยากาศไปยังเครื่องรับได้โดยสะดวก
2. 
เครื่องส่งและเครื่องรับ จุดส่งและจุดแต่ละจุดจะต้องมีเครื่องเข้ารหัส เพื่อเปลี่ยนข่าวสารนั้นให้เป็นสัญญาณทางไฟฟ้าเสียก่อน เพื่อฝากสัญญาณไปกับคลื่นพาห์ ด้วยการ กล้ำสัญญาณ โดยเครื่องมือที่เรียกว่า มอดูเลเตอร์ เมื่อสัญญาณนั้น 
เสมือนเครื่องถ่ายสำเนาเอกสาร เพียงแต่ต้นฉบับที่ส่งมารนั้นอยู่ห่างไกลจากผู้รับโทรสารเป็นอุปกรณ์ที่นำมาใช้แทนเครื่องโทรสาร (phototelegraph) ที่เคยใช้ในการส่งภาพนิ่งมาแต่เดิม ซึ่งล้าสมัยไปแล้ว


ระบบโบราณ
ระบบสัญญาณแสงด้วยไฮดรอลิคของกรีกถูกนำมาใช้เป็นช่วงต้นของศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสต์ศักราช ระบบนี้ทำงานด้วยตัวเปิดปิดและสัญญาณที่ตามองเห็น ทำหน้าที่เหมือนโทรเลขแสง อย่างไรก็ตาม มันจะสามารถใช้ประโยชน์ในช่วงระยะทางที่จำกัดมากของข้อความที่ถูกกำหนดล่วงหน้า และ เช่นเดียวกับทุกโทรเลขแสงที่สามารถถูกนำไปใช้งานได้ในสภาพการมองเห็นที่ดีเท่านั้น
ในระหว่างยุคกลาง แถวของกระโจมไฟถูกนำมาใช้โดยทั่วไปบนแนวยอดเขาเพื่อใช้เป็นวิธีการถ่ายทอดสัญญาณ แถวกระโจมไฟประสบอุปสรรคเพราะว่าพวกมันจะสามารถส่งได้บิตเดียวของข้อมูล เพื่อให้ความหมายของข้อความเช่น"มองเห็นศัตรู" ต้องมีการตกลงกันไว้ล่วงหน้า ตัวอย่างหนึ่งที่น่าสังเกตในการใช้งานของพวกมันคือในระหว่าง the Spanish Armada เมื่อแถวกระโจมไฟถ่ายทอดสัญญาณจากพลีมัธไปลอนดอน ที่ส่งสัญญาณการมาถึงของเรือรบสเปน
แบบจำลองของหนึ่งในหอสัญญาณของ Chappe ใน Nalbach, เยอรมนี

ในปี ค.ศ. 1792 Claude Chappe, วิศวกรชาวฝรั่งเศสได้สร้างระบบโทรเลขภาพอยู่กับที่ (หรือsemaphore line)เป็นครั้งแรกระหว่างเมืองลีลและปารีส อย่างไรก็ตาม ระบบนี้ได้รับความทุกข์ทรมานเนื่องจากต้องการใช้ผู้ใชังานที่มีความเชี่ยวชาญและหอสูงที่มีราคาแพงทุกๆระยะ 10-30 กิโลเมตร (6-20 ไมล์). อันเป็นผลมาจากการแข่งขันกับโทรเลขไฟฟ้าสาย โทรเลขแสงเชิงพาณิชย์ชุดสุดท้ายของยุโรปในประเทศสวีเดนถูกทอดทิ้งในปี ค.ศ. 1880
โทรเลขและโทรศัพท์
โทรเลข, สายเคเบิลสื่อสารใต้น้ำและประวัติความเป็นมาของโทรศัพท์
การทดลองหลายครั้งในการสื่อสารด้วยไฟฟ้าเริ่มขึ้นประมาณปี 1726 ในตอนต้นไม่ประสบความสำเร็จ นักวิทยาศาสตร์ รวมทั้ง Laplace, Ampère และ Gauss มีส่วนเกี่ยวข้อง ระบบโทรเลขด้วยไฟฟ้าที่ใช้งานได้จริงถูกเสนอในเดือนมกราคม ค.ศ. 1837 โดยวิลเลียม Fothergill Cooke ผู้ที่พิจารณาว่ามันเป็นการปรับปรุง"โทรเลขแม่เหล็กไฟฟ้า"ที่มีอยู่เดิม; การปรับปรุงระบบห้าเข็ม-หกสายที่ถูกพัฒนาร่วมกับ ชาร์ลส์ วีทสโตน เข้าสู่การใช้ในเชิงพาณิชย์ในปี ค.ศ. 1838 ระบบโทรเลขในตอนต้นใช้สายไฟหลายสายเชื่อมต่อไปยังเข็มชี้หลายๆเข็ม
นักธุรกิจ ซามูเอล F.B. มอร์ส และนักฟิสิกส์ โจเซฟ เฮนรี ของสหรัฐฯได้พัฒนาระบบโทรเลขไฟฟ้ารุ่นที่เรียบง่ายของพวกเขาขึ้นมาเองอย่างอิสระ มอร์สประสบความสำเร็จในการแสดงให้เห็นถึงการใช้ระบบนี้เมื่อวันที่ 2 กันยายน ค.ศ. 1837 การสนับสนุนทางเทคนิคที่สำคัญที่สุด ของมอร์สในระบบโทรเลขนี้เป็นเรื่องง่ายและมีประสิทธิภาพสูง รหัสมอร์สได้รับการพัฒนาร่วมกันกับเพื่อนของเขา อัลเฟรด เวล ซึ่งเป็นการก้าวหน้าที่สำคัญเหนือกว่าระบบที่ซับซ้อนมากกว่าและมีราคาแพงกว่าของWheatstone และจำเป็นต้องใช้เพียงแค่สายไฟสองเส้นเท่านั้น ประสิทธิภาพการสื่อสารของรหัสมอร์สนำหน้ารหัส Huffman ในการสื่อสารแบบดิจิตอลกว่า 100 ปี แต่มอร์สและเวลก็พัฒนารหัสได้หมดข้อสังเกต โดยใช้รหัสสั้นกว่าสำหรับตัวอักษรที่ใช้บ่อยๆ
สายเคเบิลโทรเลขถาวรข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกเป็นครั้งแรกประสบความสำเร็จใน 27 กรกฎาคม ค.ศ. 1866 ช่วยให้มีการสื่อสารด้วยไฟฟ้าข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกเป็นครั้งแรก  สายเคเบิล ข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกก่อนหน้านี้ได้ดำเนินการมาไม่กี่เดือนในปี 1859 และในหมู่สิ่งอื่นๆ มันขนส่งข้อความทักทายไปมาระหว่างประธานาธิบดีเจมส์ บูคานัน ของสหรัฐฯกับสมเด็จพระราชินีวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร
อย่างไรก็ตาม สายเคเบิลที่ข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกเป็นครั้งแรกได้ล้มเหลวในไม่ช้า และ โครงการที่จะวางสายแทนถูกเลื่อนออกไปเป็นเวลาห้าปีเนื่องจากสงครามกลางเมืองอเมริกา สายโทรศัพท์แรกที่ข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก(ซึ่งประกอบด้วยตัวขยายอิเล็กทรอนิกส์หลายร้อยชุด) ไม่ได้ใช้งานจนกระทั่งปี ค.ศ. 1956 เพียงหกปีก่อนที่ดาวเทียมสื่อสารเชิงพาณิชย์ดวงแรกคือเทลสตาร์จะปล่อยขึ้นสู่วงโคจรในอวกาศ
โทรศัพท์ธรรมดาที่ใช้งานทั่วโลกในปัจจุบันได้รับการจดสิทธิบัตรเป็นครั้งแรกโดย Alexander Graham Bell ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1876   สิทธิบัตรครั้งแรกอันนั้นของเบลล์เป็นสิทธิบัตรหลักของโทรศัพท์ จากสิทธิบัตรนี้สิทธิบัตรอื่นๆ ทั้งหมดสำหรับอุปกรณ์โทรศัพท์ไฟฟ้าและคุณสมบัติอื่นก็เริ่มไหลออกมา เครดิตสำหรับการประดิษฐ์โทรศัพท์ไฟฟ้าได้รับการโต้แย้งบ่อยๆและการถกเถียงใหม่เกี่ยวกับปัญหาได้เกิดขึ้นตลอดเวลา. เช่นเดียวกับสิ่งประดิษฐ์ที่ยิ่งใหญ่อื่นๆ เช่นวิทยุ,โทรทัศน์, หลอดไฟและดิจิตอลคอมพิวเตอร์ ที่จะมีหลายนักประดิษฐ์ที่ได้ทำการทดลองบุกเบิกในการส่งผ่านเสียงทางสายที่ และปรับปรุงความคิดของกันและกัน อย่างไรก็ตาม นักประดิษฐ์ที่สำคัญคืออเล็กซานเดอ แกรฮ์ม เบลล์และการ์ดิเนอ กรีน ฮับบาร์ด ผู้ที่จัดตั้งบริษัทโทรศัพท์บริษัทแรกชื่อ Bell Telephone Company ในประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งต่อมาได้พัฒนาเป็น American Telephone & Telegraph (AT&T) ณ เวลานั้นเป็นบริษัทโทรศัพท์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก
บริการโทรศัพท์ในเชิงพาณิชย์ครั้งแรกถูกจัดตั้งขึ้นมาในปี 1878 และ 1879 บนทั้งสองด้านของ มหาสมุทรแอตแลนติก ในเมือง New Haven มลรัฐคอนเนคติกัท, และลอนดอนประเทศอังกฤษ.
วิทยุสื่อสารและโทรทัศน์

                                อาร์ซีเอ 630-TS เครื่องรับโทรทัศน์เครื่องแรกที่ผลิตแบบอุตสาหกรรม ขายระหว่างปี 1946 ถึง 1947

ในปี ค.ศ. 1832 เจมส์ Lindsay ได้สาธิตในชั้นเรียนแสดงโทรเลขไร้สายผ่านตัวนำไฟฟ้าที่เป็นน้ำให้กับนักเรียนของเขา ในปี ค.ศ. 1854 เขาก็สามารถที่จะแสดงให้เห็นถึงการส่งสัญญาณข้ามอ่าว Firth of Tay จาก ดันดี, สกอตแลนด์ไปยังวูดเฮเวนระยะประมาณสองไมล์ (3 กิโลเมตร)อีกครั้งโดยใช้น้ำเป็นสื่อกลางในการส่งผ่านในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1901 Guglielmo มาร์โคนี จัดตั้งการสื่อสารไร้สายระหว่าง เซนต์จอห์น, Newfoundland กับ Poldhu ในคอร์นวอลล์ (อังกฤษ) เขาได้รับรางวัลโนเบลในสาขาฟิสิกส์ในปี ค.ศ. 1909 ร่วมกับ คาร์ล Braun
เมื่อ 25 มีนาคม ค.ศ. 1925 จอห์น โลจี แบร์ด แห่งสก็อตแลนด์สามารถแสดงการส่งภาพเคลื่อนไหวที่ห้างสรรพสินค้า Selfridge's ในกรุงลอนดอนประเทศอังกฤษ ระบบของบาร์ดพึ่งพา การหมุนอย่างรวดเร็วของจาน Nipkowและทำให้มันกลายเป็นที่รู้จักกันว่าเป็นโทรทัศน์เครื่องกล มันกลายเป็นพื้นฐานของการทดลองออกอากาศที่ทำโดยBritish Broadcasting Corporation เริ่ม 30 กันยายน ค.ศ. 1929  อย่างไรก็ตาม สำหรับส่วนใหญ่ของศตวรรษที่ 20,ระบบโทรทัศน์ได้รับการออกแบบ โดยใช้หลอดรังสีแคโทด ที่ประดิษฐ์คิดค้นโดย คาร์ล Braun. รุ่นแรกของโทรทัศน์ อิเล็กทรอนิกส์เพื่อรักษาสัญญาถูกผลิตโดย Philo Farnsworth ชาวอเมริกัน และมันถูกสาธิตให้ ครอบครัวของเขาในไอดาโฮเมื่อวันที่ 7 กันยายน ค.ศ. 1927
อย่างไรก็ตาม โทรทัศน์ไม่ได้เป็นแต่เพียงเทคโนโลยีอันหนึง มันถูกจำกัดขั้นพื้นฐานและการใช้งานในทางปฏิบัติของมัน มันทำหน้าที่เป็นทั้งเครื่องใช้และยังเป็นสื่อกลางการเล่าเรื่องทางสังคม และการเผยแพร่ข้อความ มันเป็นเครื่องมือทางวัฒนธรรมที่ให้ประสบการณ์ของชุมชนของการได้รับข้อมูลและการได้รับประสพการณ์ทางจินตนาการ มันจะทำหน้าที่เป็น "หน้าต่างสู่โลก" โดย การเชื่อมผู้ชมจากทั่วทุกมุมผ่านการเขียนโปรแกรมของเรื่องราวต่างๆ,ชัยชนะและโศกนาฏกรรม ที่อยู่นอกประสพการณ์ส่วนตัว
โทรศัพท์ภาพ
ประวัติของ videotelephony
       
           เครื่อง Picturephone Mod II ปี 1969 ของ AT&T ผลมาจากการวิจัยและพัฒนายาวนานนับสิบปีด้วยค่าใช้จ่ายมากกว่า $ 500M


การพัฒนาของโทรศัพท์ภาพเกี่ยวข้องกับพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของเทคโนโลยีต่างๆที่ เปิดใช้งานการใช้วิดีโอแสดงสดพร้อมกับการสื่อสารโทรคมนาคมของเสียง แนวคิดของ โทรศัพท์ภาพเป็นที่นิยมครั้งแรกในช่วงปลายยุค 1870ทั้งในสหรัฐอเมริกาและยุโรป แม้ว่าวิทยาศาสตร์พื้นฐานที่จะยอมให้มีการทดลองด่วนที่สุดจะใช้เวลาเกือบครึ่งศตวรรษจึงจะสำเร็จได้ เรื่องนี้เป็นตัวเป็นตนครั้งแรกในอุปกรณ์ซึ่งต่อมาเป็นที่รู้จักกันว่าเป็นโทรศัพท์วิดีโอหรือโทรศัพท์ภาพและมันวิวัฒนาการมาจากการวิจัยอย่างเข้มข้นและการทดลองในสาขาการสื่อสารโทรคมนาคมที่หลายหลายเช่น โทรเลขไฟฟ้าโทรศัพท์วิทยุและ โทรทัศน์
รูปแสดงการใช้โทรศัพท์ของผู้มีปัญหาในการพูดที่อยู่ในสำนักงานกำลังใช้บริการถ่ายทอดสัญญาณภาพในการสื่อสารกับบุคคลปกติผ่านทางตัวแปรสัญญาณภาพและภาษามือ
การพัฒนาของเทคโนโลยีวิดีโอที่สำคัญครั้งแรกเริ่มต้นในช่วงครึ่งหลังของปี 1920s ในสหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกา กระตุ้นสะดุดตาโดยจอห์น โลจี แบร์ด และ AT&T Bell Labs เรื่องนี้เกิดขึ้นเป็นส่วนๆ อย่างน้อยโดยAT&T เพื่อทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยเสริมการใช้งานของโทรศัพท์ องค์กรจำนวนมากเชื่อว่า videotelephony จะดีกว่าการสื่อสารด้วยเสียงธรรมดา อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีวิดีโอจะถูกนำไปใช้ในการแพร่ภาพโทรทัศน์ระบบอนาล็อกอีกนานก่อนที่มันจะเป็น จริงหรือเป็นที่นิยมสำหรับ videophones
Videotelephony ถูกพัฒนาควบคู่ไปกับระบบโทรศัพท์เสียงทั่วไปจากกลางถึงปลายศตวรรษที่ 20 เฉพาะในศตวรรษที่ 20 กับการกำเนิดของตัวแปลงสัญญาณวิดีโอ codecs ที่มีประสิทธิภาพและบรอดแบนด์ความเร็วสูง ทำให้มันกลายเป็นเทคโนโลยีในทางปฏิบัติที่เป็นประโยชน์สำหรับ การใช้งานปกติ. ด้วยการปรับปรุงและความนิยมอย่างรวดเร็วของอินเทอร์เน็ต มันแพร่หลายอย่างกว้างขวางผ่านการใช้ในการประชุมทางวิดีโอและเว็บแคม ซึ่งมักใช้กับโทรศัพท์อินเทอร์เน็ต และในธุรกิจ ในที่ซึ่งเทคโนโลยีทางไกลได้ช่วยลดความจำเป็นในการเดินทาง
ดาวเทียม
               เสาอากาศสื่อสารดาวเทียมรูป parabolic ที่เป็นสิ่งอำนวยความสะดวกที่ใหญ่ที่สุดใน Raisting, Bavaria,Germany

ดาวเทียมของสหรัฐดวงแรกเพื่อการสื่อสารอยู่ในโครงการ SCORE เมื่อ 18 ธันวาคม ค.ศ. 1958  ซึ่งใช้ เทปบันทึกเสียงในการจัดเก็บและส่งต่อข้อความเสียง มันถูกใช้ในการส่งคำอวยพรคริสมาสต์ ไปทั่วโลกจากประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ดไวต์ ดี ไอเซนฮาวร์ ในปี ค.ศ. 1960 นาซ่าส่ง ดาวเทียม Echo; บอลลูนฟิล์ม PET อะลูมิเนียมยาว 100 ฟุต (30 เมตร) ทำหน้าที่เป็นกระจกสะท้อนแสงแบบพาสซีฟสำหรับการสื่อสารวิทยุ ดาวเทียม Courier 1B สร้างโดยPhilco, ก็ถูกส่งขึ้นไปในปี 1960 เช่นกัน โดยเป็นดาวเทียมทวนสัญญาณแบบแอคทีฟดวงแรกของโลก
         แสตมป์ของฮังการีแสดงภาพวาดของสองดาวเทียม Telstar กำลังถ่ายทอดสัญญาณการสื่อสารโทรคมนาคมระหว่างสถานีโลก

ดาวเทียมเทลสตาเป็นดาวเทียมดวงแรกที่ใช้งานถ่ายทอดโดยตรงในเชิงพาณิชย์ เป็นของ AT & ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงระหว่างชาติ ระหว่าง AT & T, Bell Telephone Laboratories, นาซ่าการไปรษณีย์อังกฤษ และการไปรษณีย์แห่งชาติฝรั่งเศส เพื่อพัฒนาการสื่อสารดาวเทียม Relay 1 ถูกส่งขึ้นไปเมื่อ 13 ธันวาคม 1962 และกลายเป็นดาวเทียมดวงแรก ที่จะส่งสัญญาณออกอากาศข้ามมหาสมุทรแปซิฟิกเมื่อ 22 พฤศจิกายน 1963 .
แอพพลิเคชี่นอันแรกและเป็นประวัติศาสตร์ที่สำคัญที่สุดสำหรับการสื่อสารดาวเทียมคือระบบโทรศัพท์ทางไกลระหว่างทวีป เครือข่ายโทรศัพท์สาธารณะแบบ Switched อยู่กับที่ (fixed Public Switched Telephone Network) หรือ PSTN ถ่ายทอดการใช้โทรศัพท์ที่โทรจากสาย โทรศัพท์บนพื้นดินไปที่สถานีบนดินจากนั้นสัญญาณจะถูกส่งไปยังจานรับบนดาวเทียม ผ่านทางดาวเทียม geostationary ในวงโคจรของโลก เนื่องจากการปรับปรุงสายสื่อสารใต้น้ำ โดยการใช้ใยแก้วนำแสง ทำให้การใช้งานดาวเทียมสำหรับโทรศัพท์อยู่กับที่ในปลายศตวรรษที่ 20 ลดลงไปบ้าง แต่ดาวเทียมยังคงให้บริการเฉพาะหมู่เกาะที่ห่างไกล เช่นเกาะ Ascension, เซนต์เฮเลน่าซานดิเอโก การ์เซียและเกาะอีสเตอร์ ที่ที่ไม่มีสายเคเบิลใต้น้ำให้บริการได้ นอกจากนี้ยังมีบางทวีปและพื้นที่บางส่วนของประเทศที่การสื่อสารโทรคมนาคมโทรศัพท์พื้นฐานเป็นเรื่องยากที่จะให้บริการได้ เช่น แอนตาร์กติกาภูมิภาคขนาดใหญ่ของออสเตรเลีย,อเมริกาใต้ แอฟริกา, ทางเหนือของแคนาดาจีนรัสเซียและ กรีนแลนด์
หลังจากที่บริการเชิงพาณิชย์ของโทรศัพท์ทางไกลถูกก่อตั้งขึ้นผ่านทางดาวเทียมสื่อสาร เจ้าภาพของการสื่อสารโทรคมนาคมในเชิงพาณิชย์อื่นๆได้พัฒนาการใช้ดาวเทียมที่คล้ายกัน โดยเริ่มต้นในปี 1979 บริการรวมถึงโทรศัพท์มือถือผ่านดาวเทียมวิทยุผ่านดาวเทียม, โทรทัศน์ผ่านดาวเทียม และการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียม การพัฒนาเริ่มแรกที่สุดสำหรับบริการดังกล่าวส่วนมากเกิดขึ้นใน ปี 1990 ในขณะที่การกำหนดราคาเชิงพาณิชย์สำหรับช่องสัญญาณดาวเทียมยังคงลดลงอย่างมีนัยสำคัญ
digital cinema
โรงภาพยนตร์ดิจิตอลหมายถึงการใช้เทคโนโลยีดิจิตอลในการแจกจ่ายหรือส่งภาพเคลื่อนไหวขึ้นจอภาพ ซึ่งตรงข้ามกับการส่งภาพเดลื่อนไหวแบบเก่า ภาพยนตร์สามารถถูกแจกจ่ายผ่านฮาร์ดไดรฟ์, Internet, ส่งผ่านดาวเทียมหรือดิสก์แสงเช่นดีวีดีและ Blu-ray ภาพยนตร์ดิจิตอลแตกต่างจากโทรทัศน์ความละเอียดสูงและไม่ได้ขึ้นอยู่กับมาตรฐานของโทรทัศน์หรือมาตรฐานของวิดีโอความละเอียดสูง เช่นอัตราส่วนหรืออัตราการเปลี่ยนเฟรมของภาพ ภาพยนตร์ดิจิตอลจะใช้ความคมชัดในแนวราบที่ 2K (2048 × 1080 หรือ 2.2 ล้านพิกเซล) หรือ 4K (4096 × 2160 หรือ 8.8 ล้านพิกเซล)
เมื่อวันที่ 11 กันยายนค.ศ. 1940 จอร์จ Stibitz สามารถส่งข้อมูลโดยใช้โทรพิมพ์ไปที่เครื่องคำนวณตัวเลขที่ซับซ้อนของเขาในนิวยอร์กและได้รับผลการคำนวณกลับมาที่วิทยาลัยดาร์ตเมัท์ในรัฐนิวแฮมป์เชียร์  การทำงานจากคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางหรือคอมพิวเตอร์เมนเฟรมด้วย "dumb terminal "ยังคงความนิยมไปตลอดทศสตวรรษที่ 1950 จนเข้าสู่ศตวรรษที่ 1960 ที่นักวิจัยเริ่มหันมาใช้แพ็กเกตสวิตชิง - เทคโนโลยีที่ช่วยให้ข้อมูลสามารถถูกส่งระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ที่แตกต่างกันโดยไม่ต้องผ่านเมนเฟรมส่วนกลาง เครือข่ายสี่โหนดโผล่ขึ้นมาเมื่อ 5 ธันวาคมค.ศ. 1969 เครือข่ายนี้ไม่ช้าก็กลาย ARPANET ซึ่งในปี 1981 ประกอบด้วยโหนด 213 โหนด
อาร์พาเนตถูกพัฒนาไปจนกระทั่ง 7 เมษายน ค.ศ. 1969 RFC 1 (Request for Comment) ถูกตีพิมพ์ กระบวนการนี้มีความสำคัญเนื่องจากอาร์พาเนตในที่สุดก็จะรวมกับเครือข่ายอื่น ๆ ในรูปแบบอินเทอร์เน็ตและหลายโพรโทคอลการสื่อสารอินเทอร์เน็ตที่ถูกใช้งานในวันนี้ได้รับการระบุผ่านขั้นตอน RFC ในเดือนกันยายนปี ค.ศ. 1981RFC 791 นำเสนอ Internet Protocol version 4 (IPv4) และ RFC 793 นำเสนอ Transmission Control Protocol (TCP) ที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้
อย่างไรก็ตาม ไม่ทั้งหมดที่การพัฒนาที่สำคัญจะถูกสร้างขึ้นมาผ่านขั้นตอนการขอความเห็น สองโพรโทคอลที่นิยมสำหรับการเชื่อมโยงระบบเครือข่ายท้องถิ่นหรือLAN ก็ปรากฏตัวขึ้นในปี ค.ศ. 1970 สิทธิบัตรสำหรับโพรโทคอลtoken ring ถูกแจกแจงโดย โอลอฟ Soderblom เมื่อ 29 ตุลาคม ค.ศ. 1974 และบทความเกี่ยวกับอีเธอร์เน็ตโพรโทคอลเรื่อง การสื่อสารของ ACM ถูกตีพิมพ์โดย โรเบิร์ต เม็ทคาล์ฟและเดวิด บ็อกส์ในกรกฎาคม ค.ศ. 1976 อีเธอร์เน็ตโพรโทคอลที่ได้รับแรงบันดาลใจจากโพรโทคอล ALOHAnet ได้รับการพัฒนาโดยนักวิจัยด้านวิศวกรรมไฟฟ้าที่มหาวิทยาลัยฮาวาย
แนวคิดหลัก
องค์ประกอบพื้นฐาน
  ระบบสื่อสารโทรคมนาคมขั้นพื้นฐานประกอบด้วยสามหน่วยงานหลักที่มักจะนำเสนอในบางรูปแบบ ได้แก่:
·         เครื่องส่งสัญญาณที่จะรับข้อมูลมาและแปลงให้เป็นสัญญาณ
·         ตัวกลางในการส่งสัญญาณหรือ"ช่องทาง"(channel) เช่นช่องว่างอิสระ(free space channel) เช่น อากาศ
·         เครื่องรับที่จะรับสัญญาณจากช่องสัญญาณและแปลงกลับเป็นข้อมูลเดิม
ตัวอย่างเช่น ที่สถานีวิทยุกระจายเสียง จะมีเครื่องขยายเสียงเป็นเครื่องส่งสัญญาณ ส่งสัญญาณให้เสาอากาศ เสาอากาศส่งสัญญาณออกไปในตัวกลางคืออากาศ สายอากาศของเครื่องรับ จะรับสัญญาณที่ส่งมานี้ ส่งไปให้เครื่องขยายเสียง และมีเสียงออกมาที่บ้านผู้ฟัง ระบบนี้ทำงานแบบ ซิมเพล็กซ์ คือ ทางเดียว ผู้รับตอบกลับไม่ได้
ระบบโทรคมนาคมอีกระบบจะทำงานแบบ ดูเพล็กซ์ คือ สองทาง โดยมีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ทำงานเป็นทั้งเครื่องส่งและรับ เรียกว่า ทรานซีฟเวอร์ ตัวอย่างเช่นเครื่องโทรศัพท์มือถือเป็น ทรานซีฟเวอร์
ระบบโทรคมนาคมเพื่อการสื่อสารระหว่างบุคคลเป็นการสื่อสารจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง (point-to-point)ระบบโทรคมนาคมสำหรับวิทยุหรือโทรทัศน์เป็นการสื่อสารแบบออกอากาศ(broadcast หรือ point-to-multipoint)เพราะเป็นการส่งสัญญาณจากเครื่องส่งเครื่องหนึ่งไปยังเครื่องรับหลายเครื่อง
นอกจากระบบซิมเพล็กซ์ และ ดูเพล็กซ์ แล้ว ยังมีระบบ มัลติเพล็กซ์ซึ่งใช้ในกรณีที่มีเครื่องส่งหลายเครื่อง ทำงานกับเครื่องรับหลายเครื่อง แต่ใช้ช่องทางเดียวกัน การแชร์ช่องทางทำให้ลดค่าใช้จ่ายได้มาก สัญญาณของแต่ละเครื่องส่งจะถูกมัลติเพล็กซ์ แล้วส่งผ่านตัวกลางไปที่สถานีย่อย หรือโหนด ที่นั่น สัญญาณจะถูกแยกออกไปยังเครื่องรับอย่างถูกต้อง
การสื่อสารแบบแอนะล็อกและแบบดิจิทัล
สัญญาณที่ใช้ในการสื่อสารสามารถเป็นได้ทั้งแอนะล็อกหรือดิจิทัล สำหรับสัญญาณแอนะล็อกสัญญาณจะแปรอย่างต่อเนื่องไปตามข้อมูล ในสัญญาณดิจิทัลข้อมูลจะถูกเข้ารหัสเป็นชุดของค่าที่ไม่ต่อเนื่อง (เช่นชุดของหนึ่งและศูนย์) ในระหว่างที่สัญญาณของข้อมูลถูกส่งออกไปและรับเข้ามา ข้อมูลที่มีอยู่ในสัญญาณแอนะล็อกหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะถูกลดสภาพลงเนื่องจากการรบกวนทางกายภาพที่ไม่พึงประสงค์ (สัญญาณที่ถูกส่งออกจากเครื่องส่งในทางปฏิบัติจะไม่มีเสียงรบกวน) ปกติแล้วเสียงรบกวนในระบบการสื่อสารสามารถเป็นได้ทั้งเพิ่มเข้าหรือลบออกจากสัญญาณที่พึงประสงค์ในการสุ่มที่สมบูรณ์ รูปแบบของเสียงรบกวนนี้จะเรียกว่าเสียงเติมแต่งด้วยความเข้าใจว่าเสียงรบกวนจะเป็นลบหรือบวกแล้วแต่จังหวะที่แตกต่างกันของเวลา
ในทางตรงกันข้าม ถ้าเสียงรบกวนเติมแต่งมีไม่เกินกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ข้อมูลที่มีอยู่ในสัญญาณดิจิทัลจะยังคงเหมือนเดิม ความต้านทานในเสียงรบกวนของระบบดิจิทัล ทำให้เป็นข้อได้เปรียบที่สำคัญของสัญญาณดิจิทัลเหนือกว่าสัญญาณแอนะล็อก.


คลื่น หมายถึง ลักษณะของการถูกรบกวน ที่มีการแผ่กระจาย เคลื่อนที่ออกไป ในลักษณะของการกวัดแกว่ง หรือกระเพื่อม และมักจะมีการส่งถ่ายพลังงานไปด้วย คลื่นเชิงกลซึ่งเกิดขึ้นในตัวกลาง (ซึ่งเมื่อมีการปรับเปลี่ยนรูป จะมีความแรงยืดหยุ่นในการดีดตัวกลับ) จะเดินทางและส่งผ่านพลังงานจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งในตัวกลาง โดยไม่ทำให้เกิดการเคลื่อนตำแหน่งอย่างถาวรของอนุภาคตัวกลาง คือไม่มีการส่งถ่ายอนุภาคนั่นเอง แต่จะมีการเคลื่อนที่แกว่งกวัด (oscillation) ไปกลับของอนุภาค อย่างไรก็ตามสำหรับ การแผ่รังสีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า และการแผ่รังสีแรงดึงดูด นั้นสามารถเดินทางในสุญญากาศได้ โดยไม่ต้องมีตัวกลาง
ลักษณะของคลื่นนั้น จะระบุจาก สันคลื่น หรือ ยอดคลื่น (ส่วนที่มีค่าสูงขึ้น) และ ท้องคลื่น (ส่วนที่มีค่าต่ำลง) ในลักษณะ ตั้งฉากกับทิศทางเดินคลื่น เรียก "คลื่นตามขวาง" (transverse wave) หรือ ขนานกับทิศทางเดินคลื่น เรียก "คลื่นตามยาว" (longitudinal wave)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น